“ ความแตกต่างนั่นแหล่ะสมดุล ”

คุณมีโอกาสได้เรียนคุณก็จงตั้งใจเรียน.. ในเมื่อคุณตั้งใจเรียน (ไม่ใช่เรียนรู้แค่วิชาการนะ.. คือเรียนรู้หมดแหละทั้งวิชาการตามตำหรับตำราและบริบทโครงสร้างของสังคมของสิ่งมีชีวิตไม่มีชีวิต.. แล้วก็การดำรงชีวิต.. ฯลฯ…)​ถ้าคุณตั้งใจที่จะเรียนรู้จริงๆ.. คุณก็จะมีความรู้.. ในเมื่อคุณมีความรู้.. คุณก็จะมี “ศักยภาพ” ในตัวเอง.. ในเมื่อคุณมีศักยภาพในตัวเอง.. คุณก็จะมี “สถานภาพทางสังคม” ที่ดี.. มี “ฐานะทางครอบครัว” ที่ดี.. นั่นหมายถึงคุณจะมี “คุณภาพชีวิต” ที่ดีในอนาคตตามที่พระพุทธเจ้าทรงบอกสอนไว้ “เพราะมีสิ่งนี้.. สิ่งนี้จึงมี..”… แล้วถ้าคุณ “เจ๋ง” จริง.. ต่อให้เป็นเผ่ามนุษย์กินคน.. คุณก็จะเป็น “หัวหน้าเผ่า”.. หรืออย่างน้อยก็เป็น..” ลูกเขย” ของหัวหน้าเผ่า 555.. แต่ถ้าคุณ “กากๆ”.. ไม่มีความรู้ความสามารถที่จะแยกแยะใคร่ครวญได้ว่า.. อะไรควร.. อะไรไม่ควร.. อะไรถูก.. อะไรผิด.. เอาแต่เขาว่าๆๆ.. ประเภทมีแต่ “โปรไฟล์” แต่ “แรม (RAM)” แล้วก็ “รอม (ROM)” น้อย.. ต่อให้โครงสร้างสังคมดีเลิศขนาดไหน คุณก็จะยัง “กาก” อยู่เหมือนเดิมนั่นแหละ.. ความต่างความหลากหลายนี่แหละ.. “ความสมดุล” ล่ะ… คุณลองไปทำโปรเจ็คดู.. ให้ “อิเล็คตรอน (Electron)” เข้าไปพักใน “นิวเคลียส (Nucleus)” แล้วให้ “โปรตรอน (Proton) หรือ นิวตรอน (Neutron)” เปลี่ยนผัดกันออกมาหมุนรอบนิวเคลียสดูมั่งสิ..เพื่อความเสมอภาคความเท่าเทียมกัน.. ถ้าหากคุณทำโปรเจ็คนี้ได้ค่อยเรียกหา.. ความเท่าเทียมความเสมอภาค.. ในเมื่อ “อนุภาคมูลฐาน” ของ “จักรวาล”.. มันยังเป็นเช่นนี้อยู่เลย… มันเป็นเช่นนี้เอง… โอเคนะ…

ส่วนหนึ่งของการแสดงธรรมโดย
ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
ณ ระเบียงรมณีย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
วันที่ 20 มกราคม 2566