“…วันนี้ที่ว่าคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระศาสดาของเราผู้ประกาศตัวว่านับถือคำสอนของพระองค์ “ศาสนาพุทธ” ก็น่าที่จะทำความเห็นให้มันตรงกับพระประสงค์ของพระองค์ซะ ไม่ใช่สักแต่ว่าทำเป็นพิธีกอดแต่คัมภีร์อยู่นั่นแล้ว… ปากก็พูดไป พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งคุณพระพุทธเจ้า ,คุณพระธรรมเจ้า ,คุณพระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก… แต่ในความรู้สึกที่แท้จริงในจิตในใจแล้วไม่ใช่ ยังลังเลสงสัย หวั่นไหวคลอนแคลน มากไปด้วยมงคลตื่นข่าวอยู่ตลอดเวลา…เนื่องจากไม่ได้นับถือศาสนาด้วยใจเพียงแต่นับถือกันตามประเพณี ตามทะเบียนบ้านเท่านั้น…จึงไม่ได้สนใจใส่ใจที่จะลงมือปฏิบัติให้มันจริง ๆ จัง ๆ พอที่จะได้มีหลักจิตหลักใจบ้าง ไม่ถึงขนาดที่จะให้มันหลุดมันพ้นเป็นพระอรหันต์หรอก เพียงแค่เข้าใจในเรื่องของ “กฎแห่งกรรม” ซึ่งมันก็เหมือนๆกับวิชาการทางโลกที่ว่า “มุมตกเท่ากับมุมสะท้อน” นั่นล่ะ… แค่นี้ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว…

…พระประสงค์ของพระพุทธเจ้านั้นต้องการให้สรรพสัตว์ทั้งหลายน่ะ พ้นจากทุกข์ทั้งปวง…จำพวกเวไนยสัตว์คือสัตว์ที่พอจะโปรดได้พระองค์ก็ทรงบอกทรงสอน…ที่โปรดไม่ได้ก็ทรงแผ่เมตตาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ ขออย่าให้เขามีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าสัตว์นั้นจะอยู่ในประเทศไหน หมายเอาถึงสัตว์ที่เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในวัฏฏะสงสารนี้ ทั้งหมด นั่นดูซิ! พระเมตตา พระกรุณาของพระองค์นั้นหาที่สุดมิได้…หากทำแทนกันได้แล้วพวกเราก็คงจะเป็นพระอรหันต์กันไปหมดไม่ต้องมาเกิดมาตายอีกแล้ว คงนิพพานไปพร้อมกับพระองค์ไปแล้วล่ะ…แต่นี่มันทำแทนกันไม่ได้ พระองค์จึงทำได้แค่บอกแค่สอน ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ทำตามหรือไม่ทำตามก็สุดแล้วแต่…พระองค์ไม่ทรงบังคับ…แต่ถ้าหากว่าเราต้องการจะนับถือศาสนาหรือคำสอนของพระองค์ด้วยใจแล้วล่ะก็..จงพยายามทำความเห็นของตัวเองให้มันตรงซะ.. ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาของตัวเองนั่นแหละ…พระองค์ทรงสอนว่าอย่างไรล่ะ..ก็สอนว่า…

  1. ไม่ให้ทำบาปทั้งปวง

      2. ทำกุศลให้ถึงพร้อม

      3. ทำจิตให้บริสุทธิ์

…แล้วบาปมันเป็นอย่างไรล่ะ?..มันก็คือสิ่งที่เลวร้ายต่าง ๆ ที่มันจะสะท้อนสภาวะเร่าร้อน ทุรนทุราย ฯลฯ กลับมาเผาลนจิตใจของเรา จากการกระทำของเราเองนั่นแหละ…

…แล้วกุศลล่ะมันเป็นอย่างไร?…กุศล คือ ความฉลาด คือขอบเขตแห่งคุณงามความดีซึ่งหากว่าคุณได้กระทำลงไปแล้วในขอบเขตนี้สิ่งที่จะสะท้อนกลับมาก็คือความสุขกายสบายใจ นึกถึงการกระทำของตัวเองเมื่อไหร่ก็ไม่ทำให้ตัวเองเร่าร้อนหวั่นไหวภายในจิตในใจ…ขอบเขตแห่งคุณงามความดีของคนที่มีจิตเป็นกุศลหรือคนที่มีความเฉลียวฉลาดที่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรแล้วลงมือกระทำนั้น ก็คือ รู้จักการให้ทาน รักษาศีล นั่นเอง…

…แล้วทำจิตให้บริสุทธิ์ล่ะ?…ก็คือการภาวนานั่นแหละ…แรกเริ่มก็ต้องรู้ว่าจิตเดิมแท้ๆ นั้นรู้เฉย ๆไม่มีอาการ แต่ที่มันเที่ยวไปรู้นั่นรู้นี่ แถมรู้แล้วยึดซะด้วยสิ..เรียกว่าอาการของจิตหรือสังขารตัวปรุงแต่งเนื่องจากการรู้ไม่จริงจึงทำให้หลง มันจึงคอยไปปรุงไปแต่งไปยึดมั่นสำคัญมั่นหมายกับเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา…พอรู้เรื่องบาปก็ยึดเรื่องบาป ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยวเศร้าหมองเร่าร้อนกระวานกระวาย ฯลฯ..พอรู้เรื่องบุญกุศล ก็ยึดเรื่องบุญกุศลก็มีอาการฟูฟ่องขึ้น อิ่มเอิบเบิกบานขึ้น แต่ไม่ว่าดีหรือชั่ว บุญหรือบาป สุขหรือทุกข์ ล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ทั้งนั้น คือ เกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไป ไม่จีรังยั่งยืนมันจึงทำให้เราๆท่านๆ ทั้งหลายแม้แต่ผู้พูดอยู่นี่ เดี๋ยวก็มีความรู้สึกดีใจ สุขใจ เดี๋ยวก็รู้สึกทุกข์ใจ เดี๋ยวก็หัวเราะ เดี๋ยวก็ร้องไห้ บางทีก็รู้สึกเฉยๆแต่ก็ไม่นาน ที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ก็เพราะจิตของพวกเรามันยังไม่บริสุทธิ์นั่นเอง…พระพุทธเจ้าท่านจึงพยายามบอกสอนให้ทำจิตให้บริสุทธิ์ซะ เพื่อที่พวกเราจะได้พ้นทุกข์เหมือนพระองค์ไง…(ส่วนกรรมวิธีทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นก็เริ่มจากพยายามทำจิตของตัวเองให้เป็นสมาธิให้ได้ซะก่อน โดยจะเอาวิธีจากครูบาอาจารย์องค์ไหนที่ตัวเองเคารพศรัทธาหรือวิธีปฏิบัติใดที่ถูกจริตนิสัยของตัวเองก็เลือกเอา ขอเพียงแค่ทำให้จริงเท่านั้น)…จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่เราจะต้อง “ทำ”เอง หรือ “กระทำ”เอง ทั้งนั้น… “กรรม” ก็คือ “การกระทำ” เพราะฉะนั้น “ศาสนาพุทธ”จึงเป็นเรื่องของ “กรรมนิยม” ไม่ใช่ “เทวนิยม”จึงไม่มีการอ้อนวอนร้องขอ ไม่ใช่ “วัตถุนิยม”ซึ่งคิดแต่จะเอาให้ได้ซึ่งทรัพย์สินเงินทองตลอดจนข้าวของเครื่องใช้วัตถุสมบัติทั้งหลายโดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดีใด ๆ ทั้งสิ้น…ประเภท… “ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล…ไม่ได้ด้วยมนต์ก็เอาด้วยคาถา”…ว่างั้นเถอะ !…แต่ศาสนาพุทธเป็นคำสอนที่ให้คำนึงถึง “กรรม”คือ “การกระทำ”และ “ผลของการกระทำ”คือ “วิบากกรรม”เป็นสำคัญ…เพราะฉะนั้นในเมื่ออยากได้อะไรก็ต้องลงมือขวนขวายกระทำเอาเอง แต่การแสวงหานั้นต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งศีลแห่งธรรมเท่านั้น เพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่ต้องมาลำบากทุกข์ร้อนใจในภายหลังทั้งโลกนี้แลโลกหน้า…นี่!หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านว่าอย่างนี้ “นี่คือหลักการแห่งธรรมะล่ะ” …คุณเห็นว่าอย่างไรล่ะ… ถ้าเห็นว่ามีเหตุมีผล…มีประโยชน์กับตัวเองแล้วคุณคิดอย่างไรล่ะทีนี้..คิดที่จะปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงบอกทรงสอนหรือเปล่า…ถ้าคิดจะปฏิบัติตามก็เริ่มที่คิดจะไม่ไปก่อเวรก่อกรรมกับใคร การพูดการจาก็ระมัดระวังจะไปกระทบกระเทือนกัน การทำการงาน การเลี้ยงชีพเลี้ยงชีวิตตัวเอง พ่อแม่ลูกเมียหรือคนในปกครองก็ให้อยู่บนพื้นฐานแห่งศีลแห่งธรรม คือให้มันพอดีอย่าได้ไปละเมิดผู้อื่นสัตว์อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน มีความวิริยะอุตสาหะอยู่ในขอบเขตแห่งศีลแห่งธรรม ระลึกถึงแต่สิ่งที่จะไม่นำทุกข์นำโทษมาสู่ตัวเอง ครอบครัวและวงศ์ตระกูล ต่อไปก็พยายามทำความสงบให้เกิดขึ้นในจิตในใจให้อยู่ในความเป็นหนึ่งให้ได้ แล้วถอยออกมาพิจารณากาย…พิจารณากายแล้วก็เข้าไปสงบจิตอยู่… แล้วก็ออกมาพิจารณากาย …เอาอยู่อย่างนี้แหละ…พยายามแยกธาตุแยกขันธ์ดูให้มันเห็นจริงตามเป็นจริง ในความไม่สวยไม่งามไม่จีรังยั่งยืนในสังขารร่างกายนี้…ตลอดจนถึงสังขารตัวปรุงตัวแต่งตัวสำคัญมั่นหมายนี้..ก็หาความจีรังยั่งยืน แก่นสารสาระอะไรไม่ได้เหมือนกันอีกนั่นแหละ..ทำให้มากเจริญให้มากมันก็จะค่อย ๆ รู้ค่อย ๆ เห็นชัดเจนไปเรื่อย ๆจนกระทั่ง… ค่อย ๆ ปล่อย ค่อย ๆ วางไปเองหรอก ทำให้มันพอดีกับเพศภาวะสถานะของตัวเองนั่นแหละ ถึงจะยังไม่หลุดไม่พ้นอย่างน้อย ๆ ก็ถือได้ว่าเรามีที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงแล้วล่ะในความรู้สึกในจิตในใจนี้..จึงไม่ทำให้จิตให้ใจว้าเหว่ห่อเหี่ยวหรือหวั่นไหวไปเรื่อยเฉื่อยสะเปะสะปะ สรุปแล้วถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้าเคารพศรัทธาในคำสอนของพระองค์ ยึดถือพระองค์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอย่างแท้จริงแล้วเราก็ควรที่จะกระทำตามในสิ่งพระองค์ทรงบอกให้กระทำ เว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงบอกให้เว้น แค่นี้เราก็จะไม่ทุกข์ไม่ร้อนในจิตในใจของตัวเองจนเกินไปแล้วล่ะทั้งโลกนี้แลโลกหน้า เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนให้กระทำในสิ่งที่เลวร้าย…ให้กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม..ถึงที่สุด… ดีก็ไม่เอาชั่วก็ไม่เอา…บาปก็ไม่เอาบุญก็ไม่เอา…สุขก็ไม่เอาทุกข์ก็ไม่เอา…นั่นจึงเรียกว่า “จิตบริสุทธิ์” นั่นจึงเรียกว่าเข้าถึง “สภาวะแห่งธรรมะ” ล่ะ ถ้าใครทำได้ก็จะพ้นทุกข์ไปได้เหมือนพระองค์…เหมือนพระอรหันต์สาวกทั้งหลายของพระองค์…

…พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนว่าใครเชื่อใครศรัทธาใครปฏิบัติตามพระองค์แล้วจะไม่ตาย จะไม่ประสบกับสิ่งเลวร้าย พระองค์ทรงบอกทรงสอนอยู่เสมอว่าทุกชีวิตที่เกิดมาย่อมจะต้องประสบกับสิ่งที่ดีบ้างเลวบ้างเหมือนกันหมด ท้ายที่สุดก็จะต้องตายเหมือนกันหมดอีกนั่นแหละ ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติธรรมหรือไม่ปฏิบัติธรรม เพียงแต่ว่าคนที่ปฏิบัติธรรมนั้นเวลาประสบกับสิ่งที่เลวร้ายต่าง ๆ ก็ยังพอมีที่พึ่งที่ระลึกทำให้มีสติคอยยับยั้งชั่งใจให้เข้าใจถึงความเป็นไปของสรรพสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน ระลึกรู้อยู่เสมอว่า อะไรที่มันเกิดขึ้น มันก็แค่ทรงตัวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นแล้วก็ต้องดับไป หาความจีรังยั่งยืนอะไรไม่ได้ทั้งนั้นแหละ…ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เลวร้ายหรือสิ่งที่ดีงาม ในเมื่อระลึกรู้อยู่อย่างนี้เสมอ ๆ จึงไม่ทำให้จิตใจเร่าร้อน ทุรนทุราย หวั่นไหวคลอนแคลนกับสิ่งที่มากระทบจนเกินไป แม้ถึงที่สุดต้องตายไปหากยังไม่หลุดไม่พ้น ก็ไปสู่ภพภูมิที่ดี ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์อีกทีก็อยู่ในชาติชั้นวรรณะที่ดีที่เหมาะสมตามกำลังแห่งบุญบารมีที่ตัวเองได้สร้างได้ปฏิบัติเอาไว้ เป็นเกราะคอยปกป้องคุ้มครองตัวเองไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่วที่ลำบากเนื่องจากจิตมีที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่ถูกต้องนั่นเอง…

…ส่วนพวกที่จิตไร้ที่พึ่งที่ระลึกนั้น แม้ในทะเบียนบ้านจะระบุว่านับถือศาสนาพุทธ แต่จิตใจก็ไม่ถึงพุทธแท้ คือ ไม่รู้จักว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ไม่รู้จักในความเป็นจริงของสรรพสิ่งจนกระทั่งไม่รู้แม้แต่เรื่องของกฎแห่งกรรมเรื่องของบาปบุญคุณโทษใดๆ ทั้งสิ้นหรืออาจจะรู้แต่ด้วยจิตที่ด้อยคุณภาพจึงไม่สามารถหักห้ามความอยากความต้องการของตัวเองได้ จึงมีแต่ความรู้สึกหวาดกลัว…กลัวว่าตัวเอง พรรคพวกของตัวเอง วงศ์วานว่านเครือของตัวเองจะลำบากไม่มีจะกินไม่มีจะใช้ กลัวจะไม่ร่ำไม่รวย กลัวจะไม่มีชื่อเสียงเกียรติยศ กลัวจะด้อยกว่าคนอื่นเขา ถึงที่สุดก็กลัวว่าตัวเองจะตาย จิตใจจึงเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง มีแต่ความลังเลสงสัยไม่เข้าใจโดยถ่องแท้ในความแปรปรวนพร้อมที่จะเสื่อมสลายไปอยู่ตลอดเวลาของธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ นี้ จึงมากไปด้วยมงคลตื่นข่าวใครว่าอะไรดี ทำให้ร่ำให้รวยทำให้มีเสน่ห์ใครเห็นใครรัก ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยคงกระพันชาตรี ฯลฯ…จะอยู่ที่ไหนไกลแสนไกลก็ไปถึง แพงแสนแพงก็หาซื้อ…เงินไม่มีก็หาจี้หาปล้น หาลักหาขโมย ฉ้อโกงเอา เพียงสำคัญมั่นหมายว่าถ้าได้สิ่งเหล่านี้มาแล้วตัวเองก็จะประสบแต่สิ่งดี ๆ ที่พึงหวังต่าง ๆ แม้ที่สุดคนที่เจ็บที่ตายต้องไม่เป็นเราหรือเป็นลูกเรา เมียเรา ผัวเรา …พูดง่ายๆความต้องการที่แท้จริงก็คือ เราต้องไม่เป็นอะไรทั้งนั้น…ต้องไม่ตาย ลูกเรา เมียเรา ผัวเรา คนที่เรารักต้องไม่ตายว่างั้นเถอะ !…ความจริงเขาน่าจะเฉลียวใจคิดบ้างว่า เศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกนั้นเขารวยได้เพราะอะไร ?… หรือว่า “หมีแพนด้า”ที่เชียงใหม่นั้นมันมีของดีอะไร ใครไปสวดไปเสกอะไรให้มัน มันจึงมีเสน่ห์จังเลยมีแต่คนอยากจะไปดูไปหาถึงขนาดแต่งเพลงโปรโมตให้มันทั้ง ๆ ที่มันก็ไม่ได้จ้างวานหรือขอร้องอะไรเลย …นี่แหล่ะ! สภาวะของจิตที่ไร้ที่พึ่ง เป็นจิตที่สะเปะสะปะ จะไม่สามารถแยกแยะอะไรได้มากหรอกในแง่ของธรรมะ ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมีการศึกษา มีความรู้ มีชื่อเสียงเกียรติยศหรือคนที่ด้อยการศึกษาไร้ชื่อเสียง ร่ำรวยหรือยากจน ไม่ว่าฆราวาสหรือนักบวช คิดได้แค่นี้เหมือนกันหมด… แต่สาธุ… พูดก็พูดเถอะเราไม่ได้ประมาทใครนะ…แต่เรายังไม่เคยเห็นเลยว่า เวลาเจ็บเวลาป่วยหรือเวลามีอุบัติเหตุรถคว่ำ รถชนกันหรือถูกยิงถูกฟันแล้ว เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยต่าง ๆ หรือว่าญาติพี่น้องจะตรวจดูรูปดูเหรียญที่ห้อยคอคนเจ็บ(ไม่ต้องพูดถึงคนตายนะ) แล้วก็นำส่งครูบาอาจารย์หรือต้นสังกัดเครื่องรางของขลังนั้นๆ…เห็นแต่พากันหอบหิ้วปุเรง ๆ เข้าโรงพยาบาลร่ำร้องหาหมอหาพยาบาลกันทั้งนั้น แม้แต่ตัวครูบาอาจารย์เจ้าของรูปเจ้าของเหรียญทั้งหลายเองก็เถอะ เวลาเจ็บป่วยก็ไม่พ้นคุณหมอคุณพยาบาลช่วยยืดอายุให้ ถ้าร่างกายมันยังไม่ถึงที่สุด มันยังใช้ได้อยู่คุณหมอก็จัด ด ด…ให้ แต่ถ้าคุณหมอบอกญาติบอกโยมว่า “ทำใจซะนะ” ก็เป็นอันว่าจบ…เพราะฉะนั้นสรุปแล้วสำหรับเราทางกายภาพทางรูปธรรมนี้..คุณหมอ คุณพยาบาลสิเจ๋ง ! พึ่งได้ระลึกถึงได้… แต่ต้องเป็นหมอจริง ๆ นะเฮ้ย…ถ้าเจอหมอปลอมละก้อ …หนาว..เดี๋ยวได้คันกันทั้งตัวล่ะ…ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ เอ้า…เอาล่ะ.. เอวัง!…”

พระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

แสดงธรรม ณ วัดป่าน้ำโจน วันที่ 31 พฤษภาคม 2550

…Your Refuge…

“…Today is like the day on which the Buddha was born,enlightened and passed into Nibbana over 2500 years ago.We Buddhists should have our view correspond to the Buddha’s. Even though all of us take refuge in the Buddha, in the Dhamma and in the Sangha, we are Buddhists only in our name. Some of us are always in doubt, shaken and excited about some rumours . Some say that we are Buddhists only in our house registration: we do not have sincere intention to follow the Buddha’s teachings. In fact, Buddhists, who are laypersons, do not necessarily practise so hard that they attain Arahatship. They only know the ‘Law of Kamma’, which may be compared to geometric theory ‘the falling angle is equal to the reflexiveangle’ This is enough for them. The Buddha wanted all beings to be free from all kinds of suffering .


He taught those who can be taught, but as for those who cannot be done so, he extended loving-kindness, dedicating his merit to and wishing all of them who wander in the Round of Rebirth , no matter what nations they belong to, to be free from their physical and mental pain. He cannot make any merit in place of others. He only tells them no matter whether they believe him or do as he told or not. If Buddhists want to practise what the Buddha taught, they should sincerely adjust their view to correspond to his. What theBuddha taught is:

to avoid all kinds of evil,

to do all kinds of good, and

to purify one’s mind.


What is evil or demerit? Evil is our bad action by way of body and speech , which places us in sufferingand trouble. What is good or merit? Good is opposite to evil . It is wholesomeness. In fact , it is our good action by way of body and speech , which results in our physical and mental happiness . He whose mind is skilful can separate what is right from what is wrong and then follow the former by means of giving generosity , of observing precepts and of purifying his mind.

The last one is called mental development . To start with you should know the original citta is only the Knower. It does not have mental activities . However, the fact that the citta knows this and that is called mental qualities or mental formations. Since it does not know realily , it is deluded. The citta is concocted to attach to this and that all the time. As soon as it knows evil,it is attached to it , making it defiled,het up, restless etc . When it knows merit , it holds it , being fluffy up , full of contentment and in high spirits.


However, whether it is good or bad, meritorious or ‘demeritorious , happy and painful , it is all under the Three Characteristics, i.e. arising, standing and ceasing. Since it is impermanent, it makes all of you very glad or sorrowful , mentally happy or painful, laugh or cry , or sometimes indifferent , but not for long. What is like that is because your mind is not purified. So the Buddha taught Buddhists to purify their mind in order that they could be free from suffering . (However , the method to chasten the mind is made by means of meditation practice under supervision of a meditation master and according to one’s intrinsic nature). It can be seen that you must do it all by yourself. Kamma means action or doing. Thus, Buddhism believes in Kamma, not in god. There is no prayer in Buddhism .

The Buddha did not teach Buddhists to seek material wealth without considering what is right and what is wrong. Buddhism teaches its followers to believe in Kamma and its consequence. So you have to do by yourself whatever you want . Your action must be only according to moral principle in order that you maynot be troubled later on both in this world and in the world to come. All of these are the Buddha’s teachings . What do you think about them? If you see that there are reason and a benefit to you, will you follow what he taught? If yes, start instantly by not making trouble and by not doing violence to others. You should be careful about things you are doing and speaking. Your job and livelihood, your wife , your husband or people under your control are based on moral principle, i.e. they being just enough. You should not violate others’ right . You should have effort based on the scope of morality . You should recall what does not bring trouble to you , your family and relatives and then try to make your mind be in onepointedness state.

After that you move your mind back from the state and contemplate the body and then stay on your calmed mind and contemplate the body again . You try to do like this again and again in order to see unattractivess and impermanence ofelements and aggregates grouped together as this body. When you make it more and cultivate it more , you would gradually know reality and then relinquish attachment. Though you have not been completely free from defilements, you can be said to have had your firm refuge. In brief , if you believe in the Buddha and his teachings , you should follow what he taught and refrain from what he did not lay down . If you are able to do like this, you will not be in trouble both in this world and in the world beyond . In fact , the Buddha did not teach Buddhists to do evil , but to doonly what is good .

Absolutely speaking , he taught Buddhists to abandon goodness and badness , merit and demerit , happiness and pain . The mind in such state is called “purified” , i.e. attaining “the state of Dhamma” . He who has been successful in practising like this is free from all kinds of suffering as were the Buddha and his Arahanta disciples. The Buddha did not teach his fot lowers to believe that if they follow what he taught , they will not experience what is bad.He always said that all human beings will experience what is good and what is bad.

Finally they will be dead all the same, whether they practise Dhamma or not . Different is that those who follow Dhamma , when they experience what is bad, still have their refuge , are mindful and understand the impermanence of all things as they really are. They always recall that that which happened will remain only for a while. Then it ceases in the end, because it is impermanent, whether it is good or bad. When they always know like this , they would not feel het up , restless and shaken by what is affecting their mind so extremely that they are dead. If they have not been free from defilements, they will go to good born. If they are reborn a human being , they will be in a good and suitable family according to their good deeds done in the former existence , which guards and does not let them fall into evil owing to their mind with good refuge.

Those whose mind is without refuge are Buddhists only in their house registration , because they do not know what is right and what is wrong , what the Law of Kamma is and what merit and demerit are. Or they may know, but since their mind is in an inferior quality , they cannot stop their desire. They feel frightened, being afraid that they themselves, their friends,their family and relatives will be troubled, have nothing to eat and have enough. They fear that they are not rich , not famous and inferior to others. Finally since they fear that they are to be dead , their mind is full of attachment , of doubt and of clear misunderstanding of impermanence , i.e. the four elements , namely: earth , water , air and fire are ready to be in decline. Some Buddhists become excited about some news. They try to seek what they think to make them be rich, charming and invulnerable, no matter how far they stay or how expensive they are. Some rob someone else of their money or steal things only because they mistakenly believe that if they own those things , they will have good luck or desirable things . Or even those who are ill or to be dead ought not to

be them , their child or wife or husband.

In short , undesirable things do not belong to themselves , their child, wife, husband, beloved ones are not to die. In fact, those Buddhists ought to think how the number one millionaire becomes rich , or what makes the Panda in the Chiangmai Zoo attractive to a number of people. This is the state of the mind without refuge of most of Buddhists at the present . Whether they are well educated or famous , under-educated or unfamous, rich or poor, laymen or monks, they think all the same. Well, please forgive me for talking such a thing . I do not place the blame on anyone else . It has never been found that when someone is sick , or injured in an accident, or knifed, or shot , no one or even their relatives examines what chain with amulet the sick or the injured are wearing around their neck , or whether or not they are sent to those who possess the original amulets.

All of them are sent to the hospital. Even the acarayas themselves, when they are ill, are to see the doctor. If they are still in a curable condition , they would have the best of care in the hospital. But if they are in a condition so serious that they cannot be helped by the doctor , their life ends.

Therefore , as for as your physical health is concerned, only the doctor , not other people or amulets, can help you. But he is the medical doctor with a licence. If he is not, it’s every man of himself!…”


Translated by

Suwat Charoensuk