… ในเบื้องต้น.. “พุทธศาสตร์” ไม่ใช่ “คณิตศาสตร์” ที่จะเป็นสูตรสำเร็จแบบง่าย ๆ อย่าง 2+2 เป็น 4… 2×3 = 6 หรือ คุณเป็นคนดี คุณจะต้องประสบแต่สิ่งดี ๆ พบเจอแต่คนดี ๆ อะไรประมาณนั้น… “ศาสนาพุทธ” จะนำเสนอถึงความเป็นจริงของสรรพสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ ไม่จีรังยั่งยืนประเภท “สิ่งที่แน่นอน” ก็คือ “สิ่งที่ไม่แน่นอน”…อย่างคุณเป็นคนดี คุณชอบปฏิบัติธรรม ก็ใช่ว่าคุณจะต้องไปเจอแต่สิ่งที่ดี ๆ หรือ คนดี ๆ ก็หาไม่…คุณอาจจะไปเจอกับเหตุการณ์ที่เลวร้าย หรือคนที่คุณไม่ชอบใจไม่พอใจก็ได้…แล้วคุณจะทำอย่างไรล่ะ คุณถึงจะไม่ทุกข์มากจนเกินไป…นี่คือโจทย์สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมล่ะ ที่จะพิสูจน์ว่าคุณเข้าถึง “พุทธศาสนา” มากน้อยแค่ไหน… แต่…เมื่อถึงที่สุดแล้วมันก็คล้าย ๆ กันกับทุก ๆ “ศาสตร์” นั่นแหละ คือเมื่อพิจารณาใคร่ครวญ บวก ลบ คูณ หาร หาเหตุหาผลอะไร ๆ ต่าง ๆ “ลงตัว ”แล้วมันก็ “ลงใจ” เองนั่นแหละ…จึงไม่มีความจำเป็นต้องไปสำคัญมั่นหมายอะไรกับโจทย์นั้น ๆ อีกต่อไป…ก็เลยไม่เครียด…ทาง “พุทธศาสตร์” เรียกสภาวะนี้ว่า … “ปล่อยวาง” ไง


พระอาจารย์อังคาร อคฺคธมฺโม
บรรยายธรรม ที่ รพ.พุทธชินราช 27 มิถุนายน 2551

It is the realization of impermanence that is called Buddhism

In the beginning it is ‘Buddhology’, not ‘mathematics’ that becomes an easily ready-made formula. For example, 2+2 makes 4. 2×3 forms 6. Or you are a good person, so you are to expercience only what is good and one who is good or something like that. Buddhism presents the reality of all impermanent things. “The permanent are the impermanent”. For example, the fact that you are a good man and like to cultivate mind development does not mean that you will have to encounter only what is good and one who is good. You may come up against a worse situation or even one whom you do not like. What will you do in order that you may not have too much trouble ? This is the problem for one who develops one’s mind in order to prove how much you understand “Buddhism”. But finally all kinds of science are the same. That is ,all kinds of things having been carefully considered come to be included in the ‘mind’ itself. So there is no need for all meditators to adhere to the problem anymore. So they do not have tension any longer, which is called according to the principle of ‘Buddhology’ as “to let go of all things”.

The Ven, Phra Acaraya Angkan Aggadhammo
preached at Buddhajinara’j Hospital
On June 27,2008

Translated by
Suwat Charoensuk