“…ความจริงจะว่าไปพวกเรานั้นมีโอกาสฟังธรรมสัมผัสกับธรรมะมากกว่าเจ้าชายสิทธัตถะซะอีก เพียงแต่ขาดการโอปนยิโก คือ ขาดการพิจารณาเทียบเคียงน้อมเข้ามาดูตัวเองเท่านั้น … เป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นบุคลากรของโรงพยาบาลย่อมจะต้องสัมผัสอยู่แล้วกับการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทำงานอยู่ทุกวัน เห็นอยู่ทุกวัน มันก็เลยชินกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป…. ความรู้สึกนี้มันจะไม่ธรรมดาก็ต่อเมื่อ คนเจ็บ คนป่วย คนตาย นั้นเป็นคนที่เรารัก เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นผัว เป็นเมีย เป็นลูก เป็นหลาน เป็นญาติโกโหติกาเราเมื่อไหร่ล่ะก็…ไม่ธรรมดาเลย… ในความรู้สึกมันจะเป็นทุกข์เป็นร้อนเป็นห่วงเป็นใย บางคนรักมากหลงมากสำคัญมั่นหมายมากก็ร้องห่มร้องไห้ ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับไปก็มี…..
…ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ถ้าใครสนใจอ่านหรือศึกษาพุทธประวัติมาบ้าง ก็คงจะพอเข้าใจได้ง่ายขึ้น ส่วนคนที่ไม่เคยสนใจเลย..วันนี้ก็จงสนใจซะ….คือพระองค์นั้นได้ถูกพยากรณ์ไว้ว่า หากครองราชย์สมบัติก็จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ์ แต่ถ้าออกบวชก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ด้วยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาซึ่งต้องการจะให้ครองราชย์สมบัติอยู่แล้ว จึงพยายามครอบงำให้พระองค์หลงอยู่ในกระแสแห่งวัตถุนิยมอย่างเต็มที่…มีการสร้างปราสาทสามฤดูให้อยู่..ให้พบเห็นแต่สิ่งสวย ๆ งาม ๆ อะไรต่าง ๆ ประมาณนี้แหละ
…เผอิญวันหนึ่งได้ออกไปเที่ยวนอกวัง จึงเป็นเหตุให้ได้ไปเจอกับปรากฏการณ์ที่พระองค์ไม่เคยเห็นมาก่อน คือเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วก็สมณะผู้สงบสำรวม หลังจากกลับวังแล้วพระองค์ก็ยังทรงครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาในสิ่งที่พระองค์ได้ประสบมา ทั้งๆที่คนโดยทั่วๆไป เขาเห็นเป็นเรื่องธรรมดากันอยู่แล้ว แต่พระองค์กลับเห็นว่า…ไม่ธรรมดา…จนพระองค์ได้ออกบวชไปปฏิบัติเพื่อแสวงหาความเป็นจริงในเรื่องเหล่านี้…เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ความไม่ธรรมดาในเบื้องต้นก็เลยกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป ไม่สงสัย ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในสรรพสิ่งใดๆ… จะเห็นได้ว่า..กว่าที่พระองค์จะได้มาเห็นสภาพของคนแก่ คนเจ็บ คนตายนั้น ยากมากเพราะถูกครอบงำไว้..แต่พวกเรานั้นมันง่ายมาก มันอยู่ใกล้ๆตัวเรานี่เอง..ยิ่งโดยหน้าที่หรือการงานด้วยแล้ว..มันจำเป็นต้องเห็นซะด้วย…ต่างกันแต่เพียงว่าเห็นแล้วก็แล้วกันไปเท่านั้นเอง…
…แล้วสิ่งที่ทำให้พระองค์หายสงสัยในเรื่องเหล่านี้ก็คือ เรื่องความเป็นจริง 4 ประการที่เราเคยได้ยินกันจนเป็นเรื่องธรรมดานั่นแหละว่า..อริยสัจ 4…ซึ่งก็คือเรื่องของเหตุกับผลนั่นแหละ..เหตุ 2 ผล 2 สมุทัยเป็นเหตุ ผลก็คือทุกข์ มรรคเป็นเหตุ ผลก็คือความดับทุกข์ ถ้าหากว่าพวกเราคิดจะเดินตามรอยบาทของพระพุทธเจ้าแล้วก็ให้เข้าใจง่ายๆ เอาว่า…มรรคซึ่งเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์นั้นก็คือ ทาน ศีล ภาวนา มันเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวซึ่งเราสามารถทำได้อยู่แล้ว ทำให้มันพอดีกับเพศภาวะ สถานะของตัวเองนั่นแหละ…ทาน ก็คือการให้..ให้ตั้งแต่เรื่องหยาบๆไปจนถึงเรื่องละเอียด..จุดมุ่งหมายก็เพื่อจะพัฒนาจิตให้ลด ละ ความสำคัญมั่นหมายนั่นแหละ…ให้แบบหยาบๆก็คือการให้สิ่งให้ของซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะให้กับฆราวาสด้วยกันหรือพระสงฆ์องค์เจ้า อย่างที่เราไปถวายของพระตามวัดต่างๆที่ เรียกว่าอามิสบูชานั่นล่ะ… ตลอดจนถึงการให้อาหารหรือสิ่งของแก่หมูหมากาไก่อะไรต่างๆเหล่านี้แหละ..ในเมื่อมีการให้ก็จะต้องมีการสละออก(จาคะ) นี่พูดในแง่ของการปฏิบัตินะ…ถ้าเราได้ให้ทรัพย์สิ่งของ อะไรต่างๆเหล่านี้ …่ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์..สิ่งที่จะถูกสละออกในแง่ของนามธรรมก็คือ ความรู้สึกตระหนี่ถี่เหนียว ความโลภโมโทสัน ก็จะถูกผลักถูกสละออกจากจิตจากใจของเราด้วย…
…แล้วทีนี้การให้อย่างละเอียดก็คือ การให้ความจริงใจกับคนอื่น ให้ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกับคนอื่น สัตว์อื่น ให้ความอ่อนน้อมถ่อมตนกับคนอื่น ให้อภัยกับความผิดพลาดของคนอื่นอะไรต่างๆเหล่านี้ …ในทางตรงกันข้ามความรู้สึกกระล่อนปลิ้นปล้อนโกหกตอแหล..ความรู้สึกเห็นแก่ตัว..ความรู้สึกหยาบกระด้างก็จะถูกผลัก ถูกสละออกเหมือนกัน สิ่งที่จะสะท้อนกลับมาก็คือความเป็นปกติของจิตความเยือกเย็นของจิตของใจก็จะเกิดขึ้นแก่เรา..นั่นล่ะ…ศีล..ต่อไปการที่จะภาวนาเพื่อทำให้จิตใจเจริญยิ่งๆขึ้นไปก็ง่ายขึ้น ตั้งใจทำให้มากเจริญให้มากในการภาวนาจิตใจก็จะสงบระงับขึ้นเรื่อยๆ ถึงที่สุดหากจิตได้เข้าไปสัมผัสกับสภาวะของสัมมาสมาธิได้ เราก็จะเริ่มเห็น………. เริ่มมีฐานที่จะพิจารณาให้รู้ให้เห็นยิ่งๆขึ้นไปล่ะทีนี้……..ทีแรกได้ยินครูบาอาจารย์บอกสอนหรือได้อ่านจากตำหรับตำราทำให้เรารู้..ต่อมาถ้าเราเริ่มลงมือปฏิบัติไปด้วย ตั้งแต่เรื่องหยาบๆ คือเรื่องของการให้ทานจิตใจมันก็จะเริ่มอ่อนโยนขึ้นเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นประจำ มันก็จะนำไปสู่การเป็นผู้มีศีลเองนั่นแหล่ะ..แล้วพอได้ภาวนาไปเรื่อยๆจากน้อยไปหามากให้มันพอดีกับเพศภาวะ สถานะของตัวเองนั่นแหล่ะขอย้ำนะเรื่องนี้…จนในที่สุดเมื่อจิตได้สัมผัสกับสภาวะแห่งการสงบระงับจริงๆแล้ว ความรู้สึกจากรู้ ก็กลายเป็นเห็นล่ะทีนี้…ก็เห็นจริงตามเป็นจริงไง…เห็นมากรู้มาก ความลังเลสงสัยก็น้อยลง ความสำคัญมั่นหมายก็จะเริ่มผ่อนคลายไปเรื่อยๆตามกำลังแห่งสติปัญญา ศรัทธา ความเพียรนั่นแหละ…
…เจ้าชายสิทธัตถะท่านก็ปฏิบัติตามหนทางแห่งมรรค(แต่ตอนปฏิบัติอยู่นั้นไม่รู้หรอกเพราะไม่มีใครบอกสอนพระองค์จนพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วได้ย้อนมาดูหนทางปฏิบัติของพระองค์ทีหลัง)…เมื่อพระองค์ปฏิบัติมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็ได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเพราะทั้งรู้ทั้งเห็นในความเป็นจริงแห่งความหลงยึดหลงถือหลงสำคัญมั่นหมายในสรรพสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนนี่เองจึงทำให้มีการเกิด ในเมื่อมีการเกิดก็มี การแก่ การเจ็บ การตาย วนเวียนซ้ำๆซากๆอยู่อย่างนี่แหละ..แต่ถ้าหมดสิ้นแล้วซึ่งความสำคัญมั่นหมายใด ๆ ไม่ว่าดีหรือชั่ว บุญหรือบาป สุขหรือทุกข์ ก็เป็นอันว่า..จบ…ถ้าหากยังหลงยึดหลงถือหลงสำคัญมั่นหมายอยู่ก็วนๆเวียนๆทุกข์น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ว่าไปยึดไปติดไปสำคัญมั่นหมาย ในเรื่องดีหรือชั่ว บุญหรือบาป มรรคหรือสมุทัย…ถ้ายึดติดอยู่กับเรื่องดีคือเรื่องของทาน ศีล ภาวนา ก็ถือว่าเดินอยู่ในมรรคแม้นจะไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์คือนิโรธ (ความดับทุกข์)ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ก็อยู่ในภพภูมิที่ดี ทุกข์น้อยหน่อย คือ ถ้าเป็นคนก็ร่ำรวย รูปสวยรูปหล่อ เฉลียวฉลาด อะไรประมาณนี้หละมากกว่านั้นก็เป็นเทวดา พระอินทร์ พระพรหมไป…
…แต่ถ้าหลงยึดมั่นสำคัญมั่นหมายไปในทางที่ชั่วในทางที่เป็นบาป คือ อยากทำอะไรก็ทำไม่ต้องมีกำหนดกฎเกณฑ์อะไรขอให้ถูกใจสะใจเป็นพอ..ทานก็ไม่ต้องทำ..ศีลก็ไม่ต้องไปคำนึงถึง..ยิ่งการภาวนาก็ถือว่าไร้สาระซะ..นี่ล่ะ สมุทัย..ภพภูมิที่จะไปเกิดก็คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน..เบาะ ๆ แม้นจับพลัดจับพลูมาเกิดเป็นคนก็ประเภทยากจนข้นแค้น พิกลพิการบ้าใบ้เสียจริต..น้องๆอสุรกายนั่นแหละ…
…สรุปเอาง่ายๆ สมุทัย กับ มรรค นี่แหล่ะคือดัชนีบ่งชี้ไปถึงองค์ประกอบอื่นๆที่จะสนับสนุนให้แต่ละคนแต่ละชีวิต ทุกข์มาก ทุกข์น้อย หรือ ทุกข์ดับไปเลย…เริ่มตั้งแต่เรื่องของยีนเด่น ยีนด้อย ยีนเบี่ยงเบนนั่นล่ะ..ในเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว…ก็สุดแล้วแต่จะเลือกกระทำเลือกปฏิบัติเอา…………กัมมะ สัตเต วิภะชะติ…กรรมที่มนุษย์และสัตว์ได้กระทำไว้แล้ว ย่อมจำแนกแจกสัตว์ให้เกิดและตายไปเป็นต่าง ๆ กัน…”
Dhamma in Your Daily Life
“…..In fact, you may find more opportunity to listen to a sermon than Prince Siddhattha might, but lack including in and by your own mind. Most of you here as a doctor, a nurse and a medical person are to have been concerned with birth, old age, sickness and death more or less. But you may feel they are common and simple because you have been accustomed to them. Your feeling is not common only when those who are sick and dead belong to your father, your mother, your husband, your wife, your son or daughter, your nephew or niece, or your relatives. You feel painful and troublesome. The more you love them, the more sorrowful you are. You may not eat and sleep properly.
lf you read the history of the Buddha, you would find that Prince Siddhattha was predicted that if he reigned, he would be king of the king, but if he became an ascetic, he would become the greatest teacher in the world. King Suddhodana, his father, who wanted him to reign tried to give his only son happiness as much as he could. He had the three mansions for the three seasons built for the young Prince to live in. The Prince was forced to have seen favourite and beautiful people and things.
One day when he was outside the palace, he saw what he had never seen before. He had seen the old, the sick, the dead and a calm and self-controlled recluse.
After returning to his palace, the Prince was always immersed in thought of what he had just seen. Although people in general thought those things were natural, he did not agree with them. So the young Prince decided to become an ascetic in quest of what he has been in doubt, i.e. birth, decay, sickness and death. He spent his six Years on those things and finally discovered the truth. That is, he had been enlightened and his all doubt was destroyed.
It is obvious that before he had known the truth of birth, old age, sickness and death, the Prince was forbidden and obstructed by every means. But as for most of you here, it is very convenient to have seen such things.
In fact, they stay near you. By your job or duty, you are to see them inevitably. What makes the Prince have doubt no more is the Four Noble Truths, which you may have heard so often that you think they are common and simple.
Briefly speaking, the Four Noble Truths are Cause and effect. There are two causes and two effects. Samudaya (The cause of suffering) is the Cause. Its result is suffering. Magga (or the Path leading to the cessation of suffering) is the Cause. Its result is the cessation of suffering (Nirodha). If you want to follow the Buddha’s step, let the following be easily understood that…
Magga or the Path leading to the cessation of suffering is basically composed of giving (dana) morality (Sila) and mental culture (bhavana). These three things (Dhammas) are near all of you and yon can practice them in accordance with your own condition and status.
Dana or giving is meritorious action. Its purpose is to develop one’s mind in order that one may decrease and releasing in anything. Roughly speaking, Dana is to give materials and articles to both householder and a monk. If you give offerings to monks at any monastery, your dana is called material worship including giving food to animals such as dogs, birds and the like. Where there is giving, there is sacrifice or self-denial. This is mentioned in terms of Practice. If you give such things to either humans or animals, your meanness or stinginess is thrown off your own mind as well.
The feedback to ourselves is normal, calm and cool mind. That is Sila. Next, doing meditation in order to develope our mind is easier. Attention to do more and more development in doing meditation until our mind is calm enough to attain the state of Samadhi (concentration) and then we will begin to have the right view and have the basis of considering the truth. At first we was taught or known by teacher or reading from the text book and later we begin practising roughly by ourselves from doing Dana which make our mind is more gentle and more sympathetic to the feeling of other people. Then it leads us to be Sila people. After that we continue doing Bhavana very little time until more time that fit your own condition and status. Finally your when our mind attain the state of real calmness, our feeling of knowing will become the right view. We will see things as they really are, not as they appear. The more we see, the mor we know, our doubt will be decreased and also the releasing in anything which depends on each wisdom, confidence and effort.
Prince Siddhattha practiced the Path (Magga), but he did not know because no one told him. After his Enlightenment, he clearly understood because he knew and saw the things he had been attached to for a long time as they really are, not as they appear. Now, the Prince monk has Known the fact of birth, decay, sickness and death, which lead to the Round of Rebirth. He has discovered the Truth. He has not been attached to them any more. Where there is detachment, there is no suffering any more. Everything, no matter whether merit or demerit, pleasure or suffering, has been finished.
Briefly speaking, the cause of suffering and the Path leading to the cessation of suffering are the index indicating that one will have more or less suffering, or the cessation of suffering. When you have known this fact, it is up to you to choose and practise for your own sake.
As the Buddha said, Kamma Satte Vibhajjati – It is their own Kammas or actions that make humans and animals different…..”
Translated by
Suwat Charoensuk