ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม วัดป่าน้ำโจน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้เมตตานำนั่งสมาธิภาวนา สวดมนต์ทำวัตร ณ สวนเสี่ยตี๋ แม่แจ๋ว จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567… และเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ได้สนทนาธรรมกับอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ..ขออนุโมทนาบุญกับเสี่ยตี๋ แม่แจ๋ว (เจ้าของสถานที่) และญาติโยมทุกๆท่านด้วยนะคะ..สาธุๆๆ

ในตอนเย็นวันที่ 18 กุมภาพันธ์..

พระอาจารย์เมตตานำนั่งภาวนา
เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

เสี่ยตี๋และแม่แจ๋ว

เจ้าของสถานที่ผู้ใจบุญ

พ.ต.ท.หญิงวราภรณ์ อามาตย์คง
นักวิทยาศาสตร์(สบ 2)
ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๔

พ.ต.ท.หญิงศิรินทรา บุตตะโยธี
นักวิทยาศาสตร์(สบ 2)
ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ๔

“ชนะคนอื่นอีกไม่นานก็กลับแพ้ได้”…เห็นมั๊ยล่ะ…นักมวยน่ะ…เดี๋ยวก็เปลี่ยนแชมป์เดี๋ยวก็เปลี่ยนแชมป์…แต่ถ้าหากเอา “ชนะตัวเอง” (ตัวกิเลสนั่นแหละ) ได้แล้วไซร้…คุณก็จะชนะตลอดกาล…

โดยท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

… ในเบื้องต้น ถ้ารู้อยู่กับลมหายใจเข้า “พุทธ” ลมหายใจออก “โธ” ก็ถือว่าคุณอยู่กับ “ปัจจุบันธรรม” ถ้าออกไปจากนี้มันไม่ไป “อดีต” ก็ไป “อนาคต” ไม่ไป “รัก” ก็ “ชัง” นั่นแหละ…

ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
นำญาติโยมสวดมนต์ทำวัตรเย็น เพื่อบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

 

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

ท่านพระอาจารย์เมตตาแสดงธรรม-สนทนาธรรม

กับญาติโยม

“ดีพร้อม”

“ทำดีแล้วก็อย่าติดดี”…จงแสดงความปรารถนาดี (ทั้งกาย วาจา ใจ) ไปถึงเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่อาศัยอยู่ในวัฏสงสารนี้ให้เป็นนิสัยไว้…“จิต” จะได้อ่อนโยน มันจะได้รู้สึกโปร่งเบา…ถ้าตายแล้วยังมาเกิดอีก…ก็จะเกิดในภพชาติที่ดีที่สูง…ทั้งรูปร่างลักษณะ…สถานภาพทางสังคม…ฐานะทางครอบครัว… เรียกว่า “ดีพร้อม” ว่างั้นเถอะ!!!…

…ส่วน “จิต” ที่ยึดติดไม่ว่า “เลว” หรือ “ดี” ก็จะเป็น “จิตที่หยาบ” จึงเป็นเหตุทำให้ตัวเองรู้สึก “หนัก” อยู่นั่นแล้ว…ทั้ง ๆ ที่มองมุมไหนก็ “ถูก” หมด “ดี” หมด ในความรู้ความเห็นของตัวเอง…แต่ก็ยังรู้สึก “ทุกข์” อยู่นั่นล่ะ…พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้ละชั่ว ทำดี ถึงที่สุดก็ต้องทำ “จิต” ให้ “บริสุทธิ์”ซะ จะได้ไม่ต้อง “หนัก” ก็เลยไม่ต้อง “ทุกข์” ไง !!!…

 

บางตอนในการบรรยายธรรม
โดย…ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

 

 

“The Complete Goodness”

“Doing well but not to cling to goodness”… Please always behave well by sending our good wishes to all beings who live being who live in this cycle of rebirth in order to make our… “mind” gentle and relieved… If we were dead and were born again,… we would be born in good existence with good appearance,… good position in society… and good family… which it is called “The Complete Goodness” !!!…

…According to the “mind” which cling to both “bad” and “good” things, it is called “impurity of mind”… It causes us get “suffering” even though we think our opinion is “right” and “good”… Thus the Buddha taught us to “purify” our “mind” and do not do any evil at all !!!…

Translated by : Russamee Prompichai

ร่าเริงในธรรม…อย่างมีสาระธรรม

ในตอนเย็นวันที่ 19
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ร่วมนั่งภาวนาและสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์

ผศ.นพ.สมชาย เรืองวรรณศักดิ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.นพ.สิทธิชัย คำไสย์
สาขาวิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.เกรียงไกร วิทยาไพโรจน์ สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์,
รศ.พญ.อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์ ภาควิชาวิสัญญี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้พาน้องเป็นหนึ่ง (ลูกชาย) ร่วมนั่งภาวนาและฟังธรรม

 

อ.นพ.อนุชา อาฮูยา
ภาควิชารังสีวิทยา
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.อนุพล พาณิชย์โชติ
สาขาวิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.พญ.พรรณทิพย์ ธรรมโรจน์
สาขาวิชารังสีวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.นพ.องอาจ โสมอินทร์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.พัชรวิภา มณีไสย
สาขาวิชาสรีรวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.พญ.คัชรินทร์ ภูนิคม
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์
ฝ่ายห้องปฏิบัติการ

ฝึกสติให้เข้มแข็ง…จะได้ไม่หวั่นไหวไปมาก เมื่อกระทบกับสิ่งเร้าที่ผ่านเข้ามา

ท่านพระอาจารย์…นำญาติโยมสวดมนต์ทำวัตรเย็น

เพื่อบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

หลังจากนั้น
ท่านพระอาจารย์เมตตาแสดงธรรม-สนทนาธรรม
กับคุณหมอและญาติโยม

ผศ.นพ.สิทธิชัย คำไสย์
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.นพ.สมชาย เรืองวรรณศักดิ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.เกรียงไกร วิทยาไพโรจน์ สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์,
รศ.พญ.อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์ ภาควิชาวิสัญญี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

เลนส์ส่องธรรม

“…เทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าก็ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” นี่แหละ …พอพระอัญญาโกณฑัญญะได้ฟังท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (ดวงตาที่ว่านี้หมายถึงตาใน หรือดวงปัญญา ไม่ใช่ตาเนื้ออย่างเรา ๆ นี้) แล้วก็ทูลขอบวช…แต่เรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายก็ฟังเทศน์กัณฑ์นี้มาจนหูเป็นรูแล้ว ผู้สวดก็สวดจนปากเป็นรูแล้วเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่บรรลุอยู่ดี…เพราะธรรมะที่แท้จริงนั้นสัมผัสที่จิตที่ใจ ไม่ใช่ที่หูที่ตาหรือที่ปาก หากแต่จิตใจของพวกเราทั้งหลายยังไม่มีกำลัง เนื่องจากสติยังไม่เข้มแข็งพอจึงยังไม่เห็นจริงตามเป็นจริงใน “สภาวะ” ทั้งหลาย ก็เลยยังหลงยึดหลงถือ หลงสำคัญมั่นหมายอยู่กับความคิดความเห็นเดิม ๆ ของตัวเองอยู่นั่นแหละ…แล้วที่มาปฏิบัติธรรมกันนี้ก็เพื่อที่จะมาฝึกมาฝืนความรู้ความเห็นเดิม ๆ ของตัวเอง หรือมาฝึกสติให้มันเข้มแข็งขึ้นนั่นแหละ…เพราะถ้าสติมันเข้มแข็งซะแล้ว จิตมันก็จะมีกำลังเองนั่นแหละ…ก็เหมือนเราเอา “กระจก” แผ่นบาง ๆ มากั้นระหว่าง “แสงแดด” กับ “กระดาษ” …แสงแดดที่ส่องลอดผ่านกระจกไปสู่กระดาษก็ธรรมดา ๆ ไม่มีปัญหาอะไร… แต่ถ้าหากกระจกที่ว่านั้นเป็นกระจกที่มีคุณภาพแล้วก็หนาระดับเป็น “เลนส์” แว่นขยาย แล้วละก็ …แสงแดดที่ส่องลอดผ่านไปกระทบกับกระดาษมีผลแน่นอน…ยิ่งเป็นจุดโฟกัสที่เล็ก ๆ ด้วยแล้ว ถ้าไปจ่ออยู่ตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดาษนาน ๆ เข้าก็สามารถที่จะทำให้กระดาษตรงจุดนั้น ๆ มอดไหม้ไปได้…ฉันใดก็ฉันนั้นหาก “สติ” เราเข้มแข็งเหมือน “เลนส์” แว่นขยาย…แล้ว “จิต” ตัวรู้ของเราเหมือน “แสงแดด”… เปรียบตัวปัญหา คือ “กระดาษ” …พวกคุณลองคิดดู…ถ้าจิตตัวรู้ของเรามองปัญหาผ่านสติที่เข้มแข็งแล้วไซร้มันจะเหลืออะไร…จี้ไปตรงจุดใดมันก็คงมอดไหม้ไป…มอดไหม้ไปเหมือนกระดาษนั่นแหละ…แต่ในทาง “ธรรม” แล้ว สิ่งที่มอดไหม้ไปก็คือ “วิจิกิจฉา” (ความลังเลสงสัย) นั่นเอง !!!…”

 

 

บางตอนในการบรรยายธรรม
โดยท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

 

รศ.พญ.พรรณทิพย์ ธรรมโรจน์
สาขาวิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.อนุพล พาณิชย์โชติ
สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.พัชรวิภา มณีไสย
สาขาวิชาสรีรวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เสี่ยตี๋และแม่แจ๋ว
เจ้าของสถานที่ผู้ใจบุญ

ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตกับทุก ๆ ท่าน ด้วยค่ะ…
ขอให้ท่านเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ สาธุ…สาธุ…สาธุ