เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม วัดป่าน้ำโจน จ.พิษณุโลก เมตตานำนั่งภาวนาและแสดงธรรม ณ ห้องชมรมสานแสงอรุณ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเศวร..ขออนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่าน ด้วยค่ะ..สาธุๆๆ
พระอาจารย์เมตตานำสวดมนต์ทำวัตรเย็น
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
ผศ.ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล
ภาควิชาชีวเคมี
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.วิลาวัณย์ ภูมิดอนมิ่ง
ภาคจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.เอกรินทร์ ชุลีกร
ภาควิชาชีวเคมี
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์
ภาควิชาสรีรวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.สุทธิรัตน์ สิทธิศักดิ์
ภาคจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ.
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
ดร.สงกรานต์ เชื้อครุฑ
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.พวงเพชร วารี
ภาคจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ (ธัมเม) (สังเฆ) กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า (พระธรรม) (พระสงฆ์)
พุทโธ (ธัมโม) (สังโฆ) ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระพุทธเจ้า (พระธรรม) (พระสงฆ์) จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ (ธัมเม) (สังเฆ), เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า (พระธรรม) (พระสงฆ์) ในการต่อไป
ท่านพระอาจารย์เมตตานำนั้งสมาธิภาวนา
… การภาวนานั้นถึงมันจะยังไม่สงบลึกจนเป็นสมาธิอะไรก็ชั่งเถอะ อย่างน้อย ๆ …ก็ถือว่าได้ “เซฟสมอง” ไว้ใช้งานที่จำเป็นต่อไป…แล้วที่สำคัญการกระทำของเรานี้ก็ถือว่าได้สร้างบารมี “ทาน ศีล ภาวนา” หรือดำรงตนอยู่ใน “มรรค 8” แล้วล่ะ…
พระอาจารย์อังคาร อคฺคธมฺโม
Mind development, even though it is still not in a state of deep concentration, is regarded at least to “save the brain” in order for it to work on. Important is that doing such a thing is considered to be performing “Perfections of Da’na (gift), Sila (morality) and Pan’na'(wisdom)” or to be leading one’s life based on the ‘Eightfold Path’.
The Ven. Phra Acaraya Angkan Aggadhammo
นักศึกษาปริญญาโท
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับผลจากการฝึกสติ สนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์
“ ภาวนา…เจียระไนสมอง ”
พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านมักจะพูดเรื่องสติตามดูจิต..แล้วเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะรู้ (เด็กรุ่นใหม่อาจจะยังไม่เข้าใจ)..ซึ่ง “จิตธรรมดาของคนมีกิเลส” สัตว์ที่มีกาม..อยู่ในกามวจร อยู่ในโลกแห่งกามภพ ยังเกาะเกี่ยวอยู่ในกาม…จะมี “สมองส่วนสัญชาตญาณ” เยอะ..เราก็มี..สัตว์เดรัจฉานก็มี..ซึ่งคือสมอง “Amygdala” เป็นสมองส่วนที่ปรุงแต่งเรื่องอารมณ์ …ส่วน “Prefrontal cortex” คือสมองส่วนใหญ่ของสัตว์ชั้นสูง..คือคนเรานี้แหล่ะ..แล้วสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนคิดที่มีคุณภาพเพราะมีศักยภาพในการวิเคราะห์ ตรึกตรอง ใคร่ครวญ ยับยั้ง แล้วค่อยตัดสินใจ…คือศักยภาพมันมีแต่คุณภาพยังไม่ถึง..คำตอบของคำถามทำไมต้องมา “นั่งภาวนา”…ก็เพื่ออัพเลเวล “คลื่นความถี่ของสมอง” Prefrontal cortex นี้ให้มีคุณภาพที่ดี..ที่สูง…มันถึงจะสามารถควบคุม (control) Amygdala ได้เท่าทัน…เดี๋ยวนี้คุณภาพมันต่ำ..มันก็เลยผลิตแต่ตรรกะหนุน Amygdala ที่จะไปทำเรื่องราวต่าง ๆ ตามสัญชาตญาณเดิมของกิเลส ที่ไม่ดี…อย่างการคอรัปชั่น ก็ไม่ได้ละเมอไป..จะไปปล้น..ก็ไม่ได้ละเมอไป..มันต้องผ่านการคิดวางแผนไว้แล้ว…ในการคิดวางแผนจะใช้ส่วนไหน…ถ้าไม่ใช้ส่วน Prefrontal cortex…แล้วตามส่วนไหน..ถ้าไม่ตาม Amygdala ส่วนสัญชาตญาณ..ในการแสวงหากิน กาม เกียรติและก็ระแวงภัย
…สรุปให้พอเข้าใจได้ง่าย ๆ ก่อน …จิตที่ยังมีกิเลส ก็คือความรู้สึกจากสมองส่วน Amygdala…ส่วนสติ ก็คือความรู้สึกจากสมองส่วน Prefrontal Cortex…ในการมานั่งภาวนานี้ก็เพื่ออัพเลเวลคลื่นความถี่ของสมอง Prefrontal cortex นี้แหล่ะ…ก็เหมือน “เพชร” คุณสมบัติของเพชรมันแข็ง..แต่การจะใช้งานในบริบทไหนจะต้อง “เจียระไน” ก่อนนะ..มันถึงจะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า…ถ้าจะเอาไปทำหัวเจาะก็ต้องเจียระไนให้มันแหลม..จะทำเครื่องประดับก็ต้องเจียระไนให้มันเป็นเหลี่ยมหลากหลาย..ซึ่งมันทำได้ มันเจียระไนได้เพราะคุณสมบัติของเพชรมันแข็ง..แต่ต้องผ่านเจียระไนก่อนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด..ก็เหมือนกันเกิดมาเป็นคน..มีสมองส่วนคิดอันล้ำเลิศอยู่แล้ว…ถ้ามีคุณภาพ ถึงที่สุดก็สามารถทำตัวเองให้พ้นทุกข์ได้…คำตอบของคำถามทำไมต้องมานั่งภาวนากัน..ก็เหมือนเอาเพชรไปเจียระไนนั่นแหล่ะ…
ส่วนหนึ่งของการแสดงธรรมโดย
ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
ธะนะวัฑฒะโก , ความเจริญทรัพย์
สิริวัฑฒะโก , ความเจริญสิริ
ยะสะวัฑฒะโก , ความเจริญยศ
พะละวัฑฒะโก , ความเจริญกำลัง
วัณณะวัฑฒะโก , ความเจริญวรรณะ
สุขะวัฑฒะโก , ความเจริญสุข
โหตุ สัพพะทา , จงมีแด่ท่านในกาลทั้งปวง
ทุกขะโรคะภะยา เวรา , ทุกข์โรคภัยและเวรทั้งปวง
โสกา สัตตุ จุปัททะวา , ความโศก ศัตรูและอุปัทวะทั้งหลาย
อะเนกา อันตะรายาปิ , ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นเอนก
วินัสสันตุ จะ เตชะสา , จงพินาศไปด้วยเดช
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง , ความชนะ ความสำเร็จ ทรัพย์ ลาภ
โสตถิ ภาคะยัง สุขัง พะลัง , ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา , โภคะ ความเจริญ และความเป็นผู้มียศ
สะตะวัสสา จะ อายู จะ , และอายุยืน 100 ปี
ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต ฯ ,และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่ จงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อเทอญ.
ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตกับทุก ๆ ท่าน ด้วยค่ะ…
ขอให้ท่านเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ สาธุ…สาธุ…สาธุ
พบกันอีกครั้ง…ในวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2566
ณ ห้อง MD 420 ห้องชมรมสานแสงอรุณ
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร