…ท่านพระอาจารย์สนทนาธรรมกับ

ศ.นพ. วิชัย อิทธิชัยกุลฑล
อดีตหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา รพ.รามาธิบดี
นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย

“ ภาวนา…เจียระไนสมอง ”

พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านมักจะพูดเรื่องสติตามดูจิต..แล้วเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะรู้ (เด็กรุ่นใหม่อาจจะยังไม่เข้าใจ)..ซึ่ง “จิตธรรมดาของคนมีกิเลส” สัตว์ที่มีกาม..อยู่ในกามวจร อยู่ในโลกแห่งกามภพ ยังเกาะเกี่ยวอยู่ในกาม…จะมี “สมองส่วนสัญชาตญาณ” เยอะ..เราก็มี..สัตว์เดรัจฉานก็มี..ซึ่งคือสมอง “Amygdala” เป็นสมองส่วนที่ปรุงแต่งเรื่องอารมณ์ …ส่วน “Prefrontal cortex” คือสมองส่วนใหญ่ของสัตว์ชั้นสูง..คือคนเรานี้แหล่ะ..แล้วสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนคิดที่มีคุณภาพเพราะมีศักยภาพในการวิเคราะห์ ตรึกตรอง ใคร่ครวญ ยับยั้ง แล้วค่อยตัดสินใจ…คือศักยภาพมันมีแต่คุณภาพยังไม่ถึง..คำตอบของคำถามทำไมต้องมา “นั่งภาวนา”…ก็เพื่ออัพเลเวล “คลื่นความถี่ของสมอง” Prefrontal cortex นี้ให้มีคุณภาพที่ดี..ที่สูง…มันถึงจะสามารถควบคุม (control) Amygdala ได้เท่าทัน…เดี๋ยวนี้คุณภาพมันต่ำ..มันก็เลยผลิตแต่ตรรกะหนุน Amygdala ที่จะไปทำเรื่องราวต่าง ๆ ตามสัญชาตญาณเดิมของกิเลส ที่ไม่ดี…อย่างการคอรัปชั่น ก็ไม่ได้ละเมอไป..จะไปปล้น..ก็ไม่ได้ละเมอไป..มันต้องผ่านการคิดวางแผนไว้แล้ว…ในการคิดวางแผนจะใช้ส่วนไหน…ถ้าไม่ใช้ส่วน Prefrontal cortex…แล้วตามส่วนไหน..ถ้าไม่ตาม Amygdala ส่วนสัญชาตญาณ..ในการแสวงหากิน กาม เกียรติและก็ระแวงภัย

…สรุปให้พอเข้าใจได้ง่าย ๆ ก่อน …จิตที่ยังมีกิเลส ก็คือความรู้สึกจากสมองส่วน Amygdala…ส่วนสติ ก็คือความรู้สึกจากสมองส่วน Prefrontal Cortex…ในการมานั่งภาวนานี้ก็เพื่ออัพเลเวลคลื่นความถี่ของสมอง Prefrontal cortex นี้แหล่ะ…ก็เหมือน “เพชร” คุณสมบัติของเพชรมันแข็ง..แต่การจะใช้งานในบริบทไหนจะต้อง “เจียระไน” ก่อนนะ..มันถึงจะใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า…ถ้าจะเอาไปทำหัวเจาะก็ต้องเจียระไนให้มันแหลม..จะทำเครื่องประดับก็ต้องเจียระไนให้มันเป็นเหลี่ยมหลากหลาย..ซึ่งมันทำได้ มันเจียระไนได้เพราะคุณสมบัติของเพชรมันแข็ง..แต่ต้องผ่านเจียระไนก่อนถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด..ก็เหมือนกันเกิดมาเป็นคน..มีสมองส่วนคิดอันล้ำเลิศอยู่แล้ว…ถ้ามีคุณภาพ ถึงที่สุดก็สามารถทำตัวเองให้พ้นทุกข์ได้…คำตอบของคำถามทำไมต้องมานั่งภาวนากัน..ก็เหมือนเอาเพชรไปเจียระไนนั่นแหล่ะ…

ส่วนหนึ่งของการแสดงธรรมโดย
ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
ณ ระเบียงรมณีย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565