…ประมวลภาพ “ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม” เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และ พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ (วัดป่าเขาน้อย) เมื่อวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2565 ตามคำกราบนิมนต์ของ พล.ต.สมบูรณ์ ณ หนองคาย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26 ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จ.บุรีรัมย์

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

“ปราสาทพนมรุ้ง” ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เป็นโบราณสถานศิลปะแบบเขมรในประเทศไทยที่มีความงดงามและมีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 – 18 … ชื่อ “พนมรุ้ง” ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่

ที่มา : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

“ไกด์” นำชมจุดต่าง ๆ และเล่าเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อย่างน่าสนใจ

“คนรุ่นใหม่”

“คนรุ่นใหม่” (ตามสมมติ) ที่แท้จริงคือคนที่เกิดมามี “คุณภาพ” มี “ศักยภาพ” มากกว่าผู้คนทั่ว ๆ ไป ในยุคนั้น ๆ มีวิสัยทัศน์มุมมองที่ต่างจากคนอื่นอย่างมาก ๆ ในการที่จะผลิตนวัตกรรมอะไร ๆ ขึ้นมา เพื่อที่จะเอื้อในการดำรงชีวิตให้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ตามกำลังของสติปัญญาในแต่ละยุคแต่ละสมัย แล้วในการดำรงชีวิตของ “สัตว์ชั้นสูง” นั้น ก็ไม่ได้มีเพียงแค่ อาหาร เครื่องนุ่งห่มแล้วก็ยารักษาโรคเท่านั้น..หากมันยังมีเรื่องของ “ความรู้สึก” เข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วย ตาม “สัญชาตญาณ” ในการแสวงหา กิน กาม เกียรติ…ที่จะต้องระแวงระวังภัยที่จะตามมาสู่ตัวเองด้วย..จากการที่ “ไม่รู้ตามเป็นจริง” จึงต้องแสวงหาที่พึ่งทาง “ใจ” ไปด้วย..นี่จึงเป็นที่มาของสิ่งก่อสร้างหรือ “นวัตกรรม” ที่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายเรื่องราวที่เราได้ค้นพบแล้วก็ได้เรียนรู้ได้นำมาต่อยอด เพื่อดำรงชีวิตให้ง่ายขึ้นทั้งทาง “ร่างกาย” และ “จิตใจ”

….“คนรุ่นใหม่” (ตามสมมติ) ที่แท้จริงจึงมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย..แต่คนรุ่นใหม่ในแต่ละยุคที่คนเขาระลึกถึง…โดยส่วนมาก 99 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นผู้ที่สร้างคุณูปการในทางสร้างสรรค์ทุกสาขาอาชีพที่จะต่อยอดสืบต่อ ๆ กันมา..เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ๆ มีแนวทางที่จะต่อยอดในการเรียนรู้และพัฒนาการต่อยอดไปเรื่อยๆ ๆ ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด..ตราบใดที่ยังมาเกิดอยู่…จนกว่าจะค้นหาทางไม่มา “เกิด” ได้ มันถึงจะสิ้นสุด…นั่นแหละ… “คนรุ่นใหม่” ที่แท้จริง (ตามเป็นจริง: พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก)…เรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายก็เป็นได้เพียงแค่ “คนรุ่นเก่าที่มาเกิดในยุคใหม่” เท่านั้นเอง…ที่ยังคงมี..สัญชาตญาณในการแสวงหา กิน กาม เกียรติ หวาดระแวงภัย..อยู่เหมือนเดิม..จะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้นแหละ…นั่นคือ..ตัวบ่งชี้.. “ทุกข์” …ล่ะ…


โดย ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
ณ อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทพนมรุ้ง

ขอโอกาสถ่ายรูปกับท่านพระอาจารย์เป็นที่ระลึก

พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และภริยา (ลำดับ 1,2 จากซ้ายมือ)
พล.ต.สมบูรณ์ ณ หนองคาย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26 และภริยา (ลำดับ 3,4 จากซ้ายมือ)
คุณดารณี อินกว่าง ภรรยา พล.ท บุญยืน อินกว่าง ตำแหน่ง แม่ทัพน้อยที่ 3

 

บันไดและชานพัก แต่ละชั้นลดหลั่นไปตามความสูงแสดงถึงยอดเขาที่สูงเสียดยอดไปยังสรวงสวรรค์
ปราสาทเมืองต่ำ
“ไกด์” นำชมจุดต่าง ๆ และเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของ “ปราสาทเมืองต่ำ”

ทับหลัง (จำลอง) สลักภาพพระอินทร์ ประทับเหนือหน้ากาล

ซุ้มหน้าบันสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

“ปราสาทเมืองต่ำ” จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณขนาดใหญ่ในละแวกนี้ มีการขุดพบโบราณวัตถุได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดิน เครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และบาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว

ที่มา : ปราสาทเมืองต่ำ

“การบูรณะรวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ปราสาทเมืองต่ำ” เพื่อให้โบราณสถานกลับคืนสู่สภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่เป็นมรดกตกทอดสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดในวันที่ 10 ตุลาคม 2540

ขอโอกาสถ่ายรูปกับท่านพระอาจารย์เป็นที่ระลึก
หน้า “กำแพงแก้วและซุ้มประตู”

ท่านพระอาจารย์และคณะลูกศิษย์เดินชมภายในปราสาทอิฐ 5 องค์
“บัวยอดปราสาท” ได้จากการขุดแต่งปราสาทประธาน ซึ่งทำมาจากหินทราย
“สระน้ำ” เป็นรูปตัว L มีอยู่ทั้ง 4 มุมของกำแพงแก้ว ซึ่งมีคําจารึกซึ่งกล่าวว่าสายน้ํา เป็นเครื่องรักษาเทวสถาน

“ไม่จีรังยั่งยืน”

มองข้างนอกแล้วหันกลับมาดูข้างในบ้าง…สถานที่นี้ในกาลก่อนก็คงจะอลังการงานสร้างเหมือนเราไปดูวัดพระแก้ว หรือสถานที่ที่ยังอลังการอยู่ในปัจจุบัน..แต่สักวันหนึ่ง มันจะต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา..ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้..อย่างที่พวกเรากำลังดูอยู่ เห็นอยู่ข้างหน้านี่แหละ..ความเสื่อมสลายทางกายภาพ ทางรูปธรรม…ส่วนข้างใน..สัมผัสได้ด้วยความ “รู้สึก” …ไม่ว่าจะรักหรือชัง ชอบหรือเกลียด ดีใจหรือเสียใจ สุขใจหรือทุกข์ใจ…มันก็เป็นเพียงแค่ “ความรู้สึก” ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเท่านั้นแหละ..ไม่จีรังยั่งยืนอะไรหรอก

It’s just the feelings…that came and past away


โดย ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
ณ ปราสาทเมืองต่ำ

ขอโอกาสถ่ายรูปกับท่านพระอาจารย์เป็นที่ระลึก

“ภาพถ่ายบันทึกความทรงจำ รอยยิ้ม และเรื่องราว”

วัดเขาอังคาร
“วัดเขาอังคาร” ตั้งอยู่บนเขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคาร (ภูเขาลอย) เพราะตามประวัติลายแทงธาตุพนม กล่าวไว้ว่า ได้มีพญาทั้ง 5 ได้นำพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมีพระมหากัสสปะเถระและพระอรหันต์ 500 องค์ เป็นประธาน อีกพวกหนึ่งได้นำพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานบรรจุไว้

“พระพุทธรูปปางไสยาสน์” (ปางปรินิพพาน, พระนอน)
พระพุทธรูปประจำวันอังคาร

…มีที่มาจากตอนที่พระพุทธองค์รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงบรรทมแบบสีหไสยาสน์ หรือการนอนแบบราชสีห์ และตั้งพระทัยแล้วว่าจะไม่เสด็จลุกขึ้นมาอีก การสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธองค์
ขอน้อบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
“พระคันธารราษฎร์” ศิลปะโยนก สมัยพุทธศตวรรษที่ 7

และ “รอยพระพุทธบาทจำลอง”

น้อมกราบด้วยความเคารพ

พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล
ผู้บังคับการอำนวยการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

คุณสิทธิ์ ไตรบัญญัติกุล
ผู้บริหาร บริษัท โตโยต้า ไทยเย็น จำกัด จ.นครราชสีมา

ถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก
ขอโอกาสถ่ายรูปร่วมกับท่านพระอาจารย์เป็นที่ระลึก
จากซ้ายมือ พล.ต.สมบูรณ์ ณ หนองคาย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 26, นพ.จักรกรินทร์ รัชวิจักขณ์ ผู้อำนวยการ รพ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท และ ภริยา พ.อ.ทินกร ประสีระเตสัง เสนาธิการ มณฑลทหารบกที่ 26
คุณณิรภา กุลวชิระธร เจ้าของกิจการ กูโรตีชาชัก @โคราช

คุอรรณพ ปัตตังทานัง ผู้จัดการแผนกการขาย บริษัทโตโยต้า ไทยเย็น จำกัด

ระหว่างเดินชมวัด “นกกระรางหัวหงอก”…สองตัวก็ออกมาเดินเล่นให้ได้ถ่ายรูป

พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ (วัดป่าเขาน้อย)

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ท่านพระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม ได้ไปกราบสักการะพระบรมธาตุเจดีย์สุวจนคุณานุสรณ์ และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) ณ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์

พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึง
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

“ท่านสุวัจน์เป็นพระที่สมควรอย่างยิ่ง
ที่ก่อเจดีย์ที่บรรดาลูกศิษย์ผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ก่อขึ้นเพื่อสักการบูชาต่อไปจนกระทั่ง
ถึงลูกเต้าหลานเหลน…”


หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

ท่านพระอาจารย์และคณะลูกศิษย์น้อมกราบระลึกถึง
พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

ขอโอกาสถ่ายรูปกับท่านพระอาจารย์เป็นที่ระลึก
ภายใน “พิพิธภัณฑ์พระโพธิธรรมาจารย์เถร”
(หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
น้อมกราบระลึกถึง

พ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพ

ท่านพระอาจารย์เดินชมภายในพิพิธภัณฑ์

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุก ๆ พระองค์ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาแล้ว ล้วนแต่สอนเหมือนกันหมด สอนให้เราพยายามละความชั่ว ห่างไกลจากความชั่ว สอนให้เราทําความดี สอนให้เราชำระจิตใจของเราให้หมดจดสะอาดจากมลทิน แม้พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตข้างหน้าอีก ก็ล้วนแต่สอนเช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องรอพระพุทธเจ้าข้างหน้า ถ้าเราสามารถเข้าใจแล้วนำมาใช้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ในชาตินี้ทีเดียว ในปัจจุบันนี้มีประโยชน์ทีเดียว”

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

หลังจากนั้น…ท่านพระอาจารย์ได้เดินชมรอบ
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์”
และเมตตาสนทนากับคณะลูกศิษย์ด้วยความเป็นกันเอง

ก่อนเดินทางกลับ…

ขอโอกาสถ่ายรูปกับท่านพระอาจารย์เป็นที่ระลึก

ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตกับทุก ๆ ท่าน และขอบพระคุณทุกท่านที่ดูแลและต้อนรับด้วยความอบอุ่น…ขอให้ท่านเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ สาธุ…สาธุ…สาธุ

ขอบคุณภาพสวย ๆ จากพี่ดิว พี่ทหาร พี่จุ๋มและภาพจากทุก ๆ คนค่ะ